แบ่งปัน

ศาลจังหวัดพัทยาคัดค้านประกันตัว อริสมันต์ พร้อมพวกคดีล้มการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน

(วันที่ 21 มีนาคม 2560 ) ศาลจังหวัดพัทยา นัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในคดีที่พนักงานอัยการศาลจังหวัดพัทยา เป็นโจทก์ ฟ้องนายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง ที่ 1 นาย นิสิต สินธุไพร ที่ 2 นายพายัพ ปั้นเกตุ ที่ 3 นาย วรชัย เหมะ ที่ 4 นายวันชนะ เกิดดี ที่ 5 นายพิเชฐ สุขจินดาทอง ที่ 6 นายศักดิ์ดา นพสิทธิ์ ที่ 7 พันตำรวจโทไวพจน์ อาภารัตน์ ที่ 8 นายนพพร นามเชียงใต้ ที่ 9 นายสำเริง ประจำเรือ ที่ 10 นายสมยศ พรหมมา ที่ 11 นายวัลลภ ยังตรง ที่ 12 นายสิงห์ทอง บัวชุม ที่ 13 จำเลย

กรณีที่จำเลยทั้งหมดร่วมกันนำมวลชนกลุ่ม นปช.บุกเข้าไปในโรงแรมรอยัลคลิฟ บีช รีสอร์ท พัทยา เพื่อล้มการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนหรืออาเซียนซัมมิท ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2552 เป็นเหตุให้การประชุมต้องยุติกลางคัน ผู้นำต่างประเทศที่มาร่วมประชุมต้องหนีออกจากโรงแรมและรีบเดินทางกลับประเทศตนเองทันที

โดยศาลจังหวัดพัทยามีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2558 ให้ลงโทษจำคุกจำเลยคนละ 4 ปีนาย อริสมันต์ พร้อมพวกทั้งหมดได้อุทธรณ์   ซึ่งในวันนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนและลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี นาย คารม พลพรกลาง ทนายความ ของนาย อริสมันต์ เปิดเผยหลังที่ศาลได้ตัดสินพิพากษายืน โดยกล่าวว่าวันที่เป็นวันที่นัดฟังพิพากษาที่ศาลจังหวัดพัทยาที่ อัยการศาลจังหวัดพัทยาได้ยื่นฟ้อง นาย อริสมันต์ พร้อมพวกรวม 17 คน ในหลายข้อหา ข้อหาหลักคือมั่วสุม 10 คน ก่อความวุ่นวายในบ้านเมืองหัวหน้า ยุยงปุกปั่น การตั้งขบวน จำเลยมี 17 คน ยกฟ้องไปแล้ว 2 คน ซึ่งวันนี้ตัดสินพิพากษายืน ซึ่งเราสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน ซึ่งวันนี้ขอยื่นประกันตัวทั้งหมดวงเงินคนละ 1 ล้านบาท นอกจากนาย อริสมันต์ ซึ่งมีคดีอื่นรวมอยู่ด้วยอาจจะต้องประกันตัวสูงกว่าเพื่อนอาจจะ 2 ล้านบาท ซึ่งคงต้องยื่นเรื่องฎีฎาต่อไป เพื่อให้เข้าใจว่าการเกิดเหตุการณ์ที่รอยัลคลิฟเป็นปัญหาการเมืองไม่ใช่ปัญหาส่วนตัว   ศาลจังหวัดพัทยาสั่งจำคุก อริสมันต์ แกนนำ นปช. พิพากษายืน 4 ปี

ซึ่งศาลจังหวัดพัทยาได้คัดค้านการประกันตัว พร้อมนำตัว นาย อริสมันต์ พร้อมพวก ฝากขัง เรือนจำพิเศษพัทยาสำหรับคดีนี้เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนและลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เว้นแต่ผู้พิพากษาซึ่งได้พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ อนุญาตให้ฎีกา หรืออัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกา ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก และมาตรา 221 ตามลำดับ