แบ่งปัน

  

   คณะกรรมการชุมชนเกาะล้านศึกษาดูงานการบริหารจัดการขยะที่ศูนย์กำจัดขยะ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ซึ่งประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการขยะด้วยระบบธรรมชาติ ต้นทุนต่ำ ไร้มลพิษ เตรียมเสนอเมืองพัทยาจัดประชุมร่วมหารือแก้ไขปัญหาขยะตกค้างที่เกาะล้าน

ช่วงบ่ายของวันที่ 14 ก.ย. 2560 นาย บุญเชิด บุญยิ่ง ประธานชุมชนบ้านเกาะล้าน นำกลุ่มคณะกรรมการชุมชน พร้อมด้วยผู้แทนจากแขวงเกาะล้าน เมืองพัทยา เดินทางไปศึกษาดูงานระบบกำจัดขยะ “นาวิกนคร 4.0 โมเดล” ที่ศูนย์กำจัดขยะ ค่ายกรมหลวงชุมพร หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ฐานทัพเรือสัตหีบ เพื่อดูระบบบริหารจัดการ และวิธีการกำจัดขยะแบบมีประสิทธิภาพ โดยมีผู้แทนจากหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน และตัวแทนจาก บ.สมาร์ทแกรนด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ให้การต้อนรับ

นาย บุญเชิด ประธานชุมชนบ้านเกาะล้าน กล่าวว่า ปัจจุบันปัญหาขยะในพื้นที่ชุมชนบ้านเกาะล้าน ค่อนข้างวิกฤติเนื่องจากมีปริมาณขยะสะสมรวมกว่า 3 หมื่นกว่าตัน บริเวณพื้นที่เขานม หาดแสม ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีแนวทางการจัด การที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม ขณะที่การขนถ่ายขยะสู่ฝั่งมีปัญหาเนื่องจากเรือขนส่งมีสภาพเก่าและชำรุดที่กำลังรอการซ่อมแซมจึงมีปริมาณขยะเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ถึงแม้สภาเมืองพัทยาจะพิจารณาอนุมัติงบประมาณจำนวนหนึ่งในการศึกษาการจัดการปัญหาขยะอย่างยั่งยืน แต่ก็คงต้องใช้เวลาในการดำเนินการที่ค่อนข้างยาวนาน ดังนั้นการแก้ไขปัญหาขยะที่กองสะสมอยู่จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องดำเนินการควบคู่ไปด้วย เนื่องจากทุกวันนี้เริ่มส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยว จึงได้นำคณะกรรมการเข้ามาเร่งศึกษาเพื่อดูแนวทาง ด้วยหวังจะนำไปเสนอต่อเมืองพัทยาเพื่อพิจารณาและเร่งดำเนินการ

โดยตัวแทนจากหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน เปิดเผยว่า การจัดทำโครงการ “นาวิกนคร 4.0 โมเดล” ขึ้นเพื่อเป็นต้นแบบนำร่องในการแก้ไขปัญหาขยะอย่างมีประ สิทธิภาพ ซึ่งแผนงานดังกล่าวเริ่มต้นตั้งแต่การสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนในการคัดแยกขยะ โดยมีการจัดตั้งศูนย์รับซื้อ ก่อนจะนำส่วนที่เหลือประมาณ 95 % มาดำเนินการกำจัด โดยได้มอบหมายให้ทางเอก ชน โดย บริษัท สมาร์ทแกรนด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งจากผลการปฏิบัติพบว่าปัญหาขยะที่กองสะสมกว่า 2 แสนตันหมดไปภายใน 1 ปี โดยที่ไม่มีมลพิษทางกลิ่น ทางอากาศ และยังสามารถนำขยะไปรีไซเคิล หรือทำเชื้อเพลิงแบบ RDF เพื่อจำหน่ายให้กับภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็นรายได้อีกทางหนึ่งด้วย

ขณะที่นายมานะ สังข์แสง วิศวกรที่ปรึกษา บ.สมาร์ทแกรนด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่าระบบกำจัดขยะด้วยวิธีธรรมชาตินี้ เรียกว่ากระบวนการบำบัดขยะด้วยระบบ NBT (Natural Biological Treat meant) หรือระบบการเติมอากาศ เพื่อให้เกิดการย่อยสลายตามธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นต้องก่อสร้างโรงงานขนาดใหญ่ หรือใช้งบประมาณสูงในการดำเนินการ ซึ่งส่วนสำคัญของระบบนี้คือการเติมอากาศ ตามความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสม โดยจะกองไว้ประมาณ 6-9 เดือนตามสภาพบ่อทิ้งขยะของแต่ละพื้นที่ จากนั้นจะมีการพลิกกองขยะเพื่อระบายก๊าซมี เทนและการเติมอากาศ เพื่อปล่อยให้อินทรีย์สารย่อยสลายกันเองกระทั่งมีความสมบูรณ์พร้อม จึงจะนำมาคัดร่อนเพื่อแยกวัสดุที่จะนำ ไป Recycle ทำปุ๋ยอินทรีย์ และนำไปทำเชื้อเพลิงแบบ RDF ซึ่งจะนำไปป้อนจำหน่ายให้กลุ่มอุตสาหกรรมที่จะสร้างมูลค่าได้กว่าตันละ 800 บาท โดยระบบนี้จะสามารถจัดการปัญหาขยะได้ถึงวันละ 200-300 ตันต่อวัน ส่วนการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยนั้นหากจะมีการกำจัดแบบ 100 % คงจะ ต้องใช้ระบบเตาเผา แต่เป็นระบบที่มีต้นทุนสูง ทั้งการก่อสร้าง กำลังคน และการบำรุงรักษา แต่ก็จะมีปัญ หาเรื่องของมลพิษ ขณะที่ระบบ NBT นั้นจะมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าประมาณ 40-45 % ใช้กำลังคนน้อย และไม่ก่อให้เกิดมลพิษแต่อย่างใด โดยในส่วนของพื้นที่ชุมชนเกาะล้านนั้นจากการที่เคยลงพื้นที่สำรวจพบว่ามีปริมาณขยะกว่า 3 หมื่นตันซึ่งสามารถบริหารจัดการได้ เพียงแต่อาจมีปัญหาเรื่องของน้ำเน่าเสียที่ท่วมขังบริเวณก้นบ่อซึ่งต้องหาวิธีการแก้ไขต่อไป แต่หากจะให้ดำเนินการก็คงสามารถบริหารจัดการได้ ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณราว 60-70 ล้านบาท และจะทำให้ขยะสะสมหมดไปภายใน 1 ปี