แบ่งปัน

นายกรัฐมนตรี เป็นประธานปิดและปาฐกถาพิเศษ ในการประชุมสัมมนา “มิติการศึกษา พัฒนาพื้นที่พิเศษ เดินหน้าประเทศไทย มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
ที่โรงแรมแอมบาสเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน  นายประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานปิดและปาฐกถาพิเศษ ในการประชุมสัมมนา “มิติการศึกษา พัฒนาพื้นที่พิเศษ เดินหน้าประเทศไทย มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทางกระทรวงจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 24-25 กันยายน 2560 เพื่อเป็นการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในการพัฒนากำลังคนและศักยภาพด้านการศึกษา โดยมีผู้บริหารจากกระทรวงศึกษาธิการ ผู้อำนวยการพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศ ครู ผู้แทนผู้ประกอบการ ชุมชน ผู้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา จากพื้นที่ชายแดน 27 จังหวัด พื้นที่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 10 จังหวัด พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษตะวันออก หรือ EEC 3 จังหวัด และพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าร่วมกว่า 1,500 คน


พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการศึกษาธิการ กล่าวว่าจากการที่กระทรวงศึกษาธิการพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างโอกาสให้ผู้เรียนและประชาชนได้เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ำ ตอบโจทย์ และรองรับกับความต้องการของการพฒนาในแต่ละพื้นที่ โดยมุ่งเน้นการผลิตและพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาการศึกษาที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี รวมทั้งแผนพัฒ นาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ตลอดจนแผนการศึกษาแห่งชาติ
สำหรับที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการได้วางแผนการจัดการศึกษาในพื้นที่พิเศษ 35 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งพื้นที่เหล่านี้มีความเกี่ยวข้องที่จะต้องวางแผนจัดการศึกษา กระทรวงฯจึงได้พัฒนาจัดการแผนบูรณาการจัดการศึกษาที่เกิดจากการระดมความคิดเห็นร่วมกันของทุกภาคส่วน เพื่อพัฒนาหลักสูตรทุกระดับทุกพื้นที่ พร้อมทั้งมีการวิจัยและทบทวนอย่างเป็นรูปธรรม โดยการดำเนินการดังกล่าวมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ การประชุมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งได้จัดทำมาแล้ว 2 ครั้งในพื้นที่ จ.นครนายก และ กทม. ขณะที่การประ ชุมครั้งนี้เป็นการทบทวนและสรุปผลการสัมมนาทั้งหมดเพื่อดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมอีกครั้ง


ด้านนายประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า โครงการมิติการศึกษาพัฒนาพื้นที่พิเศษ เดินหน้าประเทศไทย มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เป็นการวางแผนพัฒนาระบบการศึกษา พื้นที่ชายแดน 27 จังหวัด, การขับเคลื่อนการศึกษาพื้นที่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 10 จังหวัด, การขับเคลื่อนการศึกษาพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษตะวันออก หรือ EEC 3 จังหวัดและพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ส่วนในเรื่องของการศึกษาเป็นเรื่องสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยต้องเริ่มการศึกษาตั้งแต่เยาวชน ซึ่งจะทำให้การพัฒนาคนในชาติเป็นไปตามเป้าหมาย นอกจากนี้การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ชายแดนถือเป็นอีกสิ่งหนึ่ง ที่รัฐบาลให้ความสำคัญ และต้องการให้คนไทยอ่านออกเขียนได้  แต่ในบางพื้นที่มีการศึกษามีการรองรับเพียงแค่ระดับประถมศึกษาเท่า โดยหลังจากนี้ จะมีการพัฒนาให้บริเวณพื้นที่ชายแดนมีการศึกษาที่มากขึ้น ทั้งในระดับมัธยมศึกษาและระดับกศน. ซึ่งจะทำให้การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ชายแดนให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น