แบ่งปัน

เมื่อเวลา 13.30 น. ของวันที่ 6 ต.ค.61  พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ  ได้สั่งการให้พลเรือโท ไกรศรี เกษร รองเสนาธิการทหารเรือ เดินทางมาเป็นประธานในการเยี่ยมชมการสาธิต พร้อมดูความพร้อมในการปฏิบัติรวมทั้งการให้ขวัญและกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ในการเตรียมความพร้อมการปฏิบัติภารกิจการจัดเตรียมความพร้อมเต็มรูปแบบการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิเกาะสุลาเวสี อินโดนีเซีย โดยใช้เรือรบขนาดใหญ่นำกำลังพลและเครื่องมือเพื่อเข้าปฏิบัติการ HA/DR เต็มรูปแบบ ด้วยแนวทาง “FROM THE SEA” สามารถออกเรือเดินทางได้เมื่อรัฐบาล หรือหน่วยเหนือสั่งการ ณ เรือหลวงอ่างทอง ท่าเทียบเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

โดย ในการเตรียมพร้อมในครั้งนี้กองทัพเรือได้เตรียมเรือหลวงอ่างทอง สังกัดกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการ เป็นฐานปฎิบัติการลอยน้ำ พร้อมด้วยกำลังพลจาก หน่วยแพทย์ กรมแพทย์ทหารเรือ   หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง  หน่วยบัญชาการชาการสงครามพิเศษทางเรือ(มนุษย์กบ) กรมก่อสาร้างและพัฒนา ฐานทัพเรือสัตหีบ  กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ รวมกำลังในการซักซ้อมการปฎิบัติการ จำนวน 550 นาย

สำหรับ เรือหลวงอ่างทองเป็นเรือประเภทเรืออเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่แบบ Landing Platform Dock (LPD)  สามารถปฏิบัติการในทะเลต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 45 วัน   โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าปฏิบัติการในพื้นที่ สนามบินไม่สามารถใช้การได้ เสันทางต่าง ๆ ถูกทำลาย ทำให้การส่งความช่วยเหลือจากทะเลสามารถทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เพราะเรือประเภทนี้สามารถจัดตั้งโรงพยาบาลบนเรือ สามารถนำยานพาหนะ เครื่องจักรกลที่ใช้ในการช่วยเหลือออกจากเรือหลวงอ่างทองด้วยเรือระบายพลขนาดกลางและขนาดเล็กของเรือ รวมทั้งใช้เฮลิคอปเตอร์ที่มากับเรือในการนำผู้ป่วยกลับมารักษาที่เรือได้อีกด้วย

พลเรือโท ไกรศรี เกษร  รองเสนาธิการกองทัพเรือ กล่าวว่า ซึ่งใช้ในการเคลื่อนย้ายกำลังการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาสาธารณภัย โดย การจัดกำลังขนาดใหญ่ เพื่อให้สามารถแก้ไขภัยพิบัติขนาดใหญ่ได้ เช่น แผ่นดินไหว หรือ    สึนามิ เป็นต้น โดยการประกอบกำลังจะเต็มรูปแบบ มีขีดความสามารถในการช่วยเหลือบรรเทาภัยพิบัติได้ค่อนข้างครบถ้วน  โดยการจัดกำลังประกอบด้วย เรือรบขนาดใหญ่เพื่อเป็นฐานบัญชาการ เรือลำเลียงขนาดกลาง/ใหญ่ และเรือรบสำหรับปฏิบัติงาน จำนวนตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ อากาศยาน จำนวน 1-2 ลำ ชุดปฏิบัติการพิเศษ (มนุษย์กบ)  จำนวน1ชุด  ชุดปฏิบัติการกู้ชีพและช่วยชีวิตทางน้ำ (Maritime Aquatic Life Support Team: MAL) จำนวน 1 ชุด ชุดสำรวจและประเมินความเสียหาย ทร. (Naval Disaster Assessment Team: NDAT) จำนวน 1 ชุด โรงพยาบาลสนาม ระดับ 2 (บนเรือ) ชุดค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยบนบก จำนวน 1 ชุด ชุดคัดกรองและอพยพผู้ประสบภัย จำนวน 1 ชุด ชุดรักษาความปลอดภัยและจัดระเบียบพื้นที่ จำนวน 1  ชุด ชุดปฏิบัติการแพทย์บนบก จำนวน 1 ชุด ชุดซ่อมสร้าง จำนวน 1 ชุด ชุดปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ จำนวน 1  ชุด ตลอดจนชุดปฏิบัติการจิตวิทยาและประชาสัมพันธ์  และ 1 ร้อยบรรเทาสาธารณภัยและสนับสนุนการลำเลียง ซึ่งกำลังทั้งหมดจะพิจารณาจัดตามความรุนแรงสถานการณ์ และความจำเป็นแต่ละกรณีไป

สำหรับการเกิดภัยพิบัติบนเกาะสุลาเวสีประเทศอินโดนีเซียในช่วงเวลานี้นับเป็นขั้นการปฏิบัติหลังเกิดภัยพิบัติ ยังคงมีความต้องการเร่งด่วนในการให้ความช่วยเหลือต่อผู้ประสบภัยพิบัติรวมทั้งการมีซากปรักหักพังของอาคารสิ่งก่อสร้างจำนวนมาก มีความจำเป็นต้องได้รับการจัดการเพื่อไม่ให้มีสิ่งกีดขวางต่อการช่วยเหลือผู้ประสบภัย จึงมีความต้องการเครื่องมือจักรกลหนักรวมทั้งใช้เป็นเครื่องมือที่จะสนับสนุนการปฎิบัติการในขั้นการบูรณะฟื้นฟูต่อไปด้วย ทั้งนี้การเข้าปฎิบัติการของชุดแพทย์สนามเคลื่อนที่และหมวดทหารซ่อมสร้างต้องได้รับการคุ้มกันจากชุดจัดระเบียบและการระวังป้องกันหน่วย กรณีที่อาจเกิดเหตุจลาจล ปล้น ตลอดจนเพื่อให้การปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นไปอย่างต่อเนื่องจึงจำเป็นต้องมีการจัดเจ้าหน้าที่ให้เพียงพอต่อการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้าทำหน้าที่ในห้วงเวลาที่เหมาะสม

พร้อมกล่าวอีกว่า ภาพที่เห็นในวันนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดกำลังเพียงบางส่วนของการจัดกำลังขนาดใหญ่ จึงเป็นภาพกำลังขนาดเล็กกว่า  แต่ยังคงได้เห็นภาพกำลังและอุปกรณ์ในส่วนต่าง ๆ เพื่อใช้ทางการแพทย์ การซ่อมสร้างต่าง ๆ รวมทั้งเฮลิคอปเตอร์สำหรับการส่งกลับผู้บาดเจ็บ และลำเลียงกำลังพร้อมอุปกรณ์ที่จำเป็นเข้าพื้นที่  ซึ่งการเตรียมการในครั้งนี้ถือได้ว่ามีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งต่อกองทัพเรือในการตรวจสอบความพร้อมของกำลังพล เครื่องมือยุทโธปกรณ์และองค์ยุทธวิธีในการสนับสนุนการบรรเทาภัยพิบัติทางทะเลให้ แก่มิตรประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม และเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลและกระ ทรวงกลาโหมในเรื่องของการเตรียมความพร้อมช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยทั้งภายในประเทศและภูมิภาค รวมทั้งการเตรียมความพร้อมในการเป็นประธานอาเซียนในปี 2562  แต่อย่างไรก็ตามปฏิบัติการในรูปแบบนี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้ประสบภัย และกองทัพเรือก็จะปฏิบัติต่อเมื่อรัฐบาล และหน่วยเหนือสั่งการ โดยเรือหลวงอ่างทองสามารถเดินทางไปช่วยเหลือเหตุดังกล่าวได้ตลอดหลังมีการสั่งการ ซึ่งระยะทาง ไป เกาะสุราเวสีจะมีระยะทางประมาณ  2,385 ไมล์ ในความเร็วของการเดินเรือที่ 15 น๊อต ซึ่งจะไปถึงใน 159 ชม. หรือประมาณ 7 วัน