แบ่งปัน

DSC01799 DSC01804 DSC01806 DSC01819

ภาพ  สุพจน์  ข่าว สุพรรณี

กลุ่มประมงพื้นที่นาเกลือรวมตัวเรียกร้องปัญหาการจับสัตว์น้ำที่ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำหนดขึ้นมาใหม่ พบว่ามีบางมาตราไม่สอดคล้องกับพื้นที่ทำมาหากินจริงของชาวประมงส่งผลให้ไม่สามารถจับสัตว์น้ำได้เหมือนเดิม
ที่ร้านเชลล์ตังเก นาย บัญชา สุขแก้ว ประมงจังหวัดชลบุรี เดินทางมารับฟังข้อเรียกร้องและปัญหาของกลุ่มประมงสะพานปลานาเกลือ หลังจากที่ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 เพื่อทำการจัดระเบียบการประมงในประเทศไทยและในน่านน้ำทั่วไป เพื่อป้องกันมิให้มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำให้อยู่ในภาวะที่เป็นแหล่งอาหารของมนุษย์และรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมให้ดำรงอยู่ในภาพที่เหมาะสม โดยเฉพาะตามมาตรา 5 ของในพระราชกำหนดที่ว่าในเรื่องของ “ทะเลชายฝั่ง” มีการออกเรือจับสัตว์น้ำนั้นได้มีการกำหนดว่าให้อยู่ในพื้นที่ราชอาณาจักรนับจากแนวชายฝั่งทะเลออกไปสามไมล์ทะเล เว้นแต่ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ จะออกกฎกระทรวงกำหนดให้เขตทะเลชายฝั่งในบริเวณใดที่มีระยะนับจากแนวชายฝั่งทะเลออกไปน้อยหรือมากกว่าสามไมล์ทะเลก็ได้แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งจุดห้าไมล์ทะเลและไม่เกินสิบสองไมล์ทะเล รวมทั้งในราชกิจจานุเบกษา มาตรา 71 ของประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในเรื่องการกำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ พ.ศ.2559 ในข้อที่ 1 ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมือทำการประมงอาทิ ลอบปูพับได้ที่มีขนาดช่องตาอวนโดยรอบเล็กกว่า 2.5 นิ้ว โดยทั้ง 2 มาตรานี้ปัจจุบันได้ส่งผลกระทบต่อกลุ่มประมงพื้นบ้านและกลุ่มประมงสะพานปลานาเกลือไม่สามารถออกเรือไปจับสัตว์น้ำได้เหมือนเดิม นอกจากนี้ทางกระทรวงฯได้มีการแบ่งเรือประมงออกเป็น 2 ประเภท คือ1. เรือพื้นบ้านหรือเรือที่ต่ำกว่า 10 ตันกรอส ปัจจุบันสามารถจับสัตว์น้ำได้โดยไม่มีการกำหนดพื้นที่ แต่ปัญหาที่กลุ่มประมงได้รับผลกระทบคือ เรือในประเภทที่ 2 คือที่มากกว่า 10 ตันกรอสหรือเรือพาณิชย์ ต้องออกไปจับสัตว์ในระยะ 3 ไมค์ทะเลห่างจากฝั่งและเกาะออกไป ซึ่งทำให้เรือพาณิชย์ดังกล่าวตั้งแต่ 10 ตันกรอสขึ้นไปนั้นแต่ก่อนเคยจับสัตว์น้ำในเขตเดียวกับเรือประมงพื้นบ้านเมื่อมีการกำหนดเขตการจับสัตว์น้ำขึ้นใหม่ทำให้ต้องไปทับกับเส้นทางการจับสัตว์ของเรือพาณิชย์เดิมที่เคยจับสัตว์น้ำในบริเวณนั่นจึงส่งผลทำให้เกิดปัญหาการกระทบกระทั่งและพื้นที่ทับซ้อนกัน กลุ่มชาวประมงจึงได้เรียกร้องต่อประมงประจำจังหวัดในเรื่องนี้ถือเป็นประเด็ดแรก โดยได้มีการเรียกร้องขอหดพื้นที่การออกจับสัตว์น้ำให้เหลือเพียงแค่ 1.5 ไมล์ทะเลเท่านั่นเพราะด้วยปัญหาในเชิงพื้นที่การทำประมงของกลุ่มดังกล่าวแตกต่างไปจากที่กระทรวงฯได้กำหนดขึ้นมา ส่วนในประเด็นถัดมาประเด็นที่ 2 ทางกระทรวงได้มีการกำหนดในเรื่องของเครื่องมือทำการประมงลอบปูพับได้ที่มีการกำหนดขนาดช่องตาอวนโดยรอบเล็กกว่า 2.5 นิ้ว ปัจจุบันพบว่าเมื่อกลุ่มประมงนำรอบที่มีขนาดตาอวนรอบด้านทั้ง 4 ด้านและทางตาอวนด้านในตามที่กระทรวงฯกำหนด พบว่าเมื่อนำไปวางแล้วมีสัตว์น้ำที่มีขนาดลำตัวเล็กสามารถรอดอวนขนาด 2.5 นิ้วเข้าไปแล้วกินเหยื่อทั้งหมดทำให้เกิดความเสียหายรวมทั้งช่วงตาอ้วนด้านในสำหรับให้ปูไต่เข้าไปกินเหยื่อนั้นกว้างเกินไปทำให้ปูไม่ไต่เข้าลอบ ส่งผลทำให้กลุ่มประมงจึงไม่สามารถจับปูได้ จึงมีการนำเสนอขอเปลี่ยนเป็นรอบอ้วนขนาดเดิมที่เคยใช้มาแต่เก่าก่อน คือขนาดรอบทั้ง 3 ด้านและช่องตาอวนในทั้ง 2 ฝั่ง ขอเป็นอวนขนาด 2 นิ้วเหมือนแต่เดิม ส่วนด้านใต้ หรือ บริเวณ ฐานด้านล่าง ลอบปูพับคงไว้เป็นขนาด 2.5 นิ้วตามที่กระทรวงฯได้มีการกำหนดมา ทั้งนี้ทางนายบัญชา สุขแก้ว ประมงจังหวัดชลบุรี ได้ให้คำแนะนำและแนวทางดำเนินการแก้ไขต่อปัญหาทั้งหมดแต่กลุ่มประมง โดยหลังจากนี้กลุ่มประมงต้องทำหนังสือร้องเรียนถึงนายคมสัน เอกชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ถึงปัญหาดังกล่าวทั้งหมดด้วยปัญหาทั้งหมดถือว่าเป็นปัญหาในเชิงพื้นที่หรือเฉพาะพื้นที่ ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนเพื่อให้ประชาชนและสัตว์น้ำอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน