แบ่งปัน

ชาวบ้านนับ100เข้าสืบพยานโจทย์หลังฟ้องกองทัพเรือและกรมธนารักษ์

นายก อบต.แสมสาร พาชุมชนนับ 100 ราย เข้าสืบพยานโจทย์นัดแรกที่ศาลจังหวัดพัทยา หลังฟ้องร้องกอง ทัพเรือและกรมธนารักษ์ ให้เพิกถอนที่ราชพัสดุชี้การขึ้นทะเบียนเป็นไปโดยมิชอบในที่ดินกว่า 1,900 ไร่ ระ บุชาวบ้านอยู่มานับ 100 ปี ขณะที่การประกาศพระราชกฤษฎีกาการขึ้นทะเบียนออกก่อนพระราชบัญญัติซึ่งเกิดขึ้นที่หลังชุมชน

มีรายงานว่าวันนี้ (31 ก.ค. 60) ที่บริเวณหน้าศาลจังหวัดพัทยา จ.ชลบุรี นาย ประเสริฐ พิทักษ์กรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี นำกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ชุมชนแสมสารนับร้อยราย เดินทางมานัดสืบพยานโจทย์นัดแรก หลังจากที่ทางชุมชนได้ทำการยื่นฟ้องร้องกองทัพเรือ กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม และ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยประสงค์ให้องค์กรทั้งสองแห่งร่วมกันดำเนินการให้มีการเพิกถอนทะเบียนที่ราชพัสดุ แปลงหมายเลขที่ ชบ.481 ชลบุรี ให้แล้วเสร็จใน 30 วัน และร้องให้ศาลมีคำสั่งห้ามองค์กรทั้งสองกระทำการที่เป็นการละเมิดสิทธิ์ของโจทย์และประชาชนในตำบลแสมสาร ด้วยการอ่างว่าที่ดินในตำบลแสมสารเป็นที่ดินหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตหวงห้ามที่ดิน พ.ศ.2479 พร้อมทั้งให้ร่วมกันชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทย์ โดยวันนี้ศาลได้นัดคู่ความทั้ง 2 ฝ่ายมาสอบว่ามีประเด็นเพิ่มเติมหรือไม่ ขณะที่ชาวแสมสารเองในวันนี้ได้มีแสดงความจำนงในการยื่นร้องสอดให้เป็นโจทย์ร่วมจากเดิมอีก 128 ราย เพิ่มขึ้นอีก 154 รายรวมกว่า 300 ราย

นายประเสริฐ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแสมสาร เปิดเผยว่าความเป็นมาของเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2559 ที่รัฐได้เข้ามาทำการจัดระเบียบของชุมชนแสมสาร โดยมีนโยบายในการจัดระเบียบที่ดินใหม่คือการเอาที่ดินคืน พร้อมระบุว่าเป็นที่ราชพัสดุซึ่งมีการประกาศในพระราชกฤษฎีกาถูกต้องตั้งแต่ปี 2497 ขณะที่ชาวบ้านเองก็ต้องต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิในการที่ดินของตน ด้วยชุมชนแห่งนี้มีชาวบ้านอาศัยอยู่กว่า 2,500 หลังคาเรือน หรือประ ชากรกว่า 6,400 ราย ในพื้นที่กว่า 1,900 ไร่ ซึ่งได้อยู่อาศัยกันมาตั้งแต่ปี 2460 หรือก่อนที่จะมีการประกาศทางกฎหมาย

นายประเสริฐ ยังกล่าวอีกว่าก่อนที่จะมีการประกาศพระราชกฤษฎีกามีการสำรวจภาพถ่ายทางอากาศในปี 2460 ซึ่งก็พบว่าชุมชนแสมสารอยู่กันมาก่อน มีทั้งชุมชน วัด โรงเรียน และเจดีย์ที่ระบุไว้ชัดเจน ขณะที่การออกพระกฤษฎีกานั้นหากดำเนินการตามกฎหมายจะหวงห้ามเฉพาะที่ดินวางเปล่า ซึ่งต้องดำเนินการตามพระ ราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าในมาตรา 4 หรือกฎหมายแม่ซึ่งประกาศใช้ในปี 2497 เช่นกันดังนั้นเมื่อมีชาวบ้านมาอยู่ก่อนที่จะมีการประกาศใช้กฎหมาย การประกาศเป็นที่ราชพัสดุจึงถือว่าเป็นเรื่องไม่ชอบ

ขณะที่ประเด็นสำคัญอีกเรื่องคือการประกาศพระกฤษฎีกาเรื่องที่ราชพัสดุนั้นมีการประกาศในวันที่ 10 มกราคม 2479 แต่การจะประกาศใช้ต้องอ้างอิงจากพระราชบัญญัติ ในมาตรา 5 ซึ่งปรากฏว่าพระราช บัญญัติหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่ามีการประกาศใช้ เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2479 ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการประกาศพระราชกฤษฎีกาก่อนหน้า หรือออกก่อนกฎหมายแม่ 3 เดือน จึงได้มีการนำเรื่องฟ้องร้องต่อศาลเพื่อให้พิจารณาเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวว่าเป็นเรื่องที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ปัจจุบันชาวบ้านยังมีความมั่นใจในเรื่องของข้อมูลหลักฐานที่ปรากฏ ทั้งเรื่องของที่อยู่อาศัยที่มีมาก่อนการขึ้นทะเบียนเป็นที่ดินราชพัสดุ เนื่องจากมีหลักฐานตามแผนที่มณฑลปราจีนบุรีซึ่งสำรวจในปี 2460 ขณะที่วัดเองก็มีการรับรองเป็นวัดโดยสมบูรณ์ตั้งแต่ปี 2473 เช่นกัน ซึ่งจากนี้ก็คงต้องดูกันต่อไปว่าผลจะออกมาเช่นใด….