แบ่งปัน

วัณโรค…ภัยเงียบที่ยังคุกคามคนไทย

หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าองค์การอนามัยโลกจัดให้ประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศที่มีปัญหาวัณโรครุนแรงในด้านที่มีจำนวนผู้ป่วยวัณโรค  ร่วมกับการติดเชื้อเอชไอวี  และยังมีจำนวนผู้ป่วยดื้อยาหลายขนานที่สูง  ซึ่งประเทศไทยมีอัตราจำนวนผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ประมาณราว 120,000 รายต่อปี  ในขณะที่มีผู้ป่วยวัณโรคขึ้นทะเบียนการรักษาเพียงประมาณ 60,000 กว่าราย หรือประมาณร้อยละ 60   ซึ่งยังต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่นานาชาติกำหนด   และเนื่องจากวัณโรคติดต่อกันได้ทางลมหายใจ ดังนั้นการอยู่ในที่แออัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก เช่น โรงภาพยนตร์  จะมีโอกาสติดเชื้อวัณโรคได้  บางครั้งผู้ป่วยวัณโรคอาจยังไม่แสดงอาการและอยู่ในสภาวะปกติแต่สามารถแพร่กระจายเชื้อออกไปได้  กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายยุติวัณโรค โดยมีองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนร่วมมือกันเพื่อยุติวัณโรคในประเทศไทย

พญ.ผลิน กมลวัทน์ ผอ.สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ให้ความเห็นว่า “วัณโรคเป็นภาวะเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข โดยการค้นหาผู้หาป่วยวัณโรคให้เข้าสู้กระบวนการรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ โดยปกติการรักษาผู้ป่วยวัณโรคจะใช้เวลานานประมาณ 6 เดือนหากผู้ป่วยรับประทานยาตรงตามกำหนด  แต่หากผู้ป่วยรับประทานยาไม่ตรงตามกำหนดหรือรักษาไม่ถูกวิธีจะทำให้กลายเป็นวัณโรคดื้อยา ซึ่งการรักษาจะนานถึง 9 เดือน  ปัจจุบันได้บรรจุยานวัตกรรมในบัญชียาหลักแห่งชาติ เพื่อให้ผู้ป่วยวัณโรคเข้าถึงการรักษาด้วยยาที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับรักษาวัณโรคดื้อยา ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการรักษาและให้ผลการรักษาที่ดีขึ้น  โดย 2 ปีที่ผ่านมาพบว่าจำนวนผู้ป่วยวัณโรคลดลงเกือบ 10 %  และคาดว่าหากแนวโน้มลดลงทุกปีและอีกไม่เกิน 5 ปี ประเทศไทยจะหลุดจาก 1 ใน 14 ประเทศที่มีปัญหาวัณโรครุนแรง”

นอกจากกระทรวงสาธารณะสุขจะให้ความสำคัญในการยุติวัณโรค ทางด้านสมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ก็เป็นหนึ่งในองค์กรที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาโดยตลอด

ศ.นพ.อรรถ นานา นายกกรรมการบริหารสมาคมปราบวัณโรคแห่งปรเทศไทย

กล่าวว่า “การสังเกตุอาหารเบื้องต้นของวัณโรค หากมีอาการไอติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิฉัย  ซึ่งทุกวันนี้คนไทยยังไม่ตระหนักถึงความรุนแรงของวัณโรคเท่าที่ควร เพราะคิดว่าวัณโรคหมดไปจากประเทศไทยแล้ว อันนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้โรคนี้ยังคงมีอยู่ในประเทศไทย ซึ่ งแหล่งแพร่เชื้อส่วนใหญ่จะแหล่งที่มีคนอยู่อาศัยอยู่จำนวนมาก อากาศถ่ายเทไม่สะดวก  โดยปัจจุบันทางสมาคมฯได้ทำงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่จะทำให้คนไทยรับรู้ถึงอันตรายจาก

วัณโรคในหลายๆช่องทาง  เพื่อช่วยลดอุบัติการณ์ของวัณโรคในประเทศไทยได้” และอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่จะมีส่วนช่วยการรักษาวัณโรค คือการพัฒนายาที่มีประสิทธิภาพในการรักษา

Mr. Chrispin  Kambili    Global Medical Affairs Leader/ Global Public Health

จากบริษัทจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน  มองว่า “ปัญหาวัณโรคเป็นปัญหาระดับโลก  เนื่องจากมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากวัณโรคมากกว่าโรคเอดส์ ซึ่งทางบริษัทฯ ได้ให้ความร่วมมือกับทางรัฐบาลไทยในการยุติ-

วัณโรค  หลายปีที่ผ่านมารัฐบาลไทยสามารถเข้าถึงยาที่ผลิตและพัฒนาสำหรับใช้ในการรักษาวัณโรคดื้อยา โดยได้รับการสนับสนุนจากโครงการบริจาคยา ทำให้สามารถเข้าถึงกระบวนการรักษาด้วยตัวยานวัตกรรมรักษาวัณโรคดื้อยา นอกจากนี้ทางบริษัทฯ ยังได้จัดให้มีการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับวัณโรคแก่กลุ่มบุคลากรทางด้านสาธารณสุขที่ทำงานด้านนี้อีกด้วย  แต่สำคัญคือทุกคนต้องตระหนักและให้ความสนใจเกี่ยวกับโรคนี้อย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะได้ต่อสู้กับวัณโรค”

การยุติวัณโรคในประเทศไทย สิ่งสำคัญคือเราทุกคนต้องเข้าใจว่า วัณโรคเป็นโรคที่รักษาให้หายได้ ถ้าตรวจพบได้ในระยะแรก และรักษาอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์  ดังนั้นเรามาเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมกันยุติวัณโรคในประเทศไทย